วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)

            ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system



       โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม)ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล


2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae


       ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่       
I ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis)
     ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
     1) Growth Hormone
เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
     2) Thyroid Stimulating Hormone
เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
     3) Gonadotrophic Hormone
เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
     4) Antidiuretic Hormone
เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
     5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น 


 II ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
    ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
    1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
    2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
    3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย


III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา



IV.ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland)  ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิดเช่น อะดรีนาลินโดยอยู่เหนือไตทั้ง2ข้างมีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด

       ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ (Pineal gland)
-ต่อมหมวกไตส่วนนอก(Adrenal cortex) สร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ได้แก่ กลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเมตาบอลิซึมของน้ำตาล ไขมัน และต้านการอักเสบ  อัลโดสเตอโรน(aldosterone) เพิ่มการดูดกลับของเกลือในไตเทสโทสเตอโรน เพิ่มลักษณะของร่างกายที่เป็นเพศชายและการเติบโต
-ต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla) สร้างฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (Epinephrine) และนอร์อีพิเนฟฟริน (norepinephrine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน มีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม เพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มการบีบตัวของเส้นเลือด


V. ต่อมไพเนียล

  อยู่เหนือสมอง อยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา มีขนาดเท่ากับเม็ดข้าวมีสีแดงปนน้ำตาล เรียกชื่อเต็มว่าเอนอะเซทิลไฟฟ์เมทอคซิทริพทามีน( N acetyl -5- methoxytryptamine) เนื่องจากรูปร่างคล้ายลูกสน(pine cone) จึงเรียกว่าต่อมไพเนียล ในตอนกลางวันจะสร้างเซโรโตนิน กระตุ้นให้เราลุกตื่นขึ้น พอตกกลางคืนก็สร้างเมลาโตนินให้เรารู้สึกง่วงนอน จึงเปรียบเสมือนนาฬิกาชีวภาพ


2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม

โดยพบอยู่ร่วมกับพวกเซลล์ต่อมมีท่อ หรือร่วมกับอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น Islets of Langerhans of pancreas,Interstitial cells of Leydig in testis และ APUD cells (Amine Precursor Uptake and Decarboxylation) ซึ่งกลุ่มเซลล์ชนิดหลังสุดประกอบด้วย hormone-secreting cells สร้างและหลั่ง สารเคมีที่มีโครงสร้างคล้าย peptides และ active amines สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหรือ neuro- transmitters พบเซลล์เหล่านี้ กระจัดกระจายแทรกในเนื้อผิว ที่ดาดในท่อทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ในระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น APUD cells มีบางตัวกำเนิดมาจาก neuroectoderm เซลล์ในกลุ่มนี้บางตัว สามารถสาธิตให้เห็นในบทที่เกี่ยวกับ อวัยวะเหล่านั้น ยกเว้นพวก APUD cells เพราะส่วนใหญ่บ่งชี้ได้ ต้องย้อมสีพิเศษ หรือศึกษาในระดับ กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน



ที่มา : www.lks.ac.th/bioweb/about/unit9.html
         www.phyathai.com/.../popup_cms_article_detail.php
         th.wikipedia.org/wiki/ระบบต่อมไร้ท่อ